วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ADSL,SDSL,HDSL

ADSL ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscriber Line

คือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง บนข่ายสายทองแดง หรือคู่สายโทรศัพท์ ADSL เป็นเทคโนโลยีในตระกูล xDSL โดยมีลักษณะสำคัญคืออัตราการเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และอัตราการเร็วในการส่งข้อมูล(Upstream) ไม่เท่ากัน โดยมีอัตรารับข้อมูลสูงสุดที่ 8 Mbps. และอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1Mbps โดยระดับความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลจะขึ้นอยู่กับ ระยะทาง และคุณภาพของคู่สายนั้นๆ
เทคโนโลยี ADSL มีเทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ ซึ่งจะแบ่งย่านความที่บนคู่สายทองแดง ออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงความถี่โทรศัพท์ (POTS) ช่วงความถี่ของการส่งข้อมูล (Upstream) ช่วงความถี่ในการรับข้อมูล(Downstream) จึงทำให้สามารถส่งข้อมูล และใช้โทรศัพท์ได้ในเวลาเดียวกัน




เทคโนโลยี ADSL พัฒนาให้ใช้ TCP/IP Protocol เป็นหลัก ซึ่งเป็น Protocol ที่ใช้บนเครือข่าย Internet และพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยี ATM ทำให้ ADSL สามารถรองรับ Application ในด้าน Multimedia ได้เป็นอย่างดี

SDSL( Symmetric Digital Subscriber Line )

เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงเหมือนกับ ADSL แต่ต่างกันที่ความเร็วในการรับ-ส่งเท่ากัน ซึ่งเหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายกับเครือข่าย อย่างไรก็ตาม การใช้งานเทคโนโลยีนี้จะไม่สามารถใช้งานเสียงพร้อม ๆ ไปกับการรับส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน เนื่องจากจุดเชื่อมต่อของสายโทรศัพท์ถูกใช้งานเต็มที่พร้อมกันนั่นเองSDSL (Single-Line Digital Subscriber Line) นี้จะคล้ายกับ VDSL แต่จะมีข้อแตกต่างกันที่สำคัญสองประการคือ - SDSL จำกัดระยะทางที่ไม่เกิน 10,000 ฟุต - SDSL ใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียว เทคโนโลยี SDSL ยังคงอยู่ในขั้นตอนพัฒนา ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี (หรือมากกว่านี้) จึงจะสามารถนำมาเป็นมาตรฐานได้โดยแต่ละเทคโนโลยีมีคุณสมบัติแตกต่างกัน
Symmetric Digital Subscriber Line (SDSL)มีกำเนิดมาจาก HDSL แต่ได้พัฒนาให้ใช้กับสายโทรศัพท์เพียงคู่เดียว โดยสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ในระดับ T1/E1 หรือ 1.544/2.048Mbps ทั้งด้านรับและส่ง ในทางทฤษฎี HDSLซึ่งแยกวงจรรับและส่งออกจากกันไปอยู่คนละคู่สายโทรศัพท์ จะสามารถทำงานได้ที่ความถี่ต่ำกว่า SDSL ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานที่ระยะทางไกลกว่าด้วย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ระยะทางที่ใช้งานได้ต่างกันไม่มาก การใช้สายโทรศัพท์เพียงคู่เดียวทำให้ SDSL สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของสายเคเบิลลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง

HDSL : High bit rate Digital Subscriber Line HDSL : High bit rate Digital Subscriber Line

เป็นเทคโนโลยีระบบที่มีจำนวนบิตในอัตราสูง ซึ่งกระจายอัตราการรับส่งข้อมูลใน 2 ทิศทาง HDSL เป็นเทคโนโลยีรุ่นบุกเบิกของ DSL เพราะเคยใช้รับส่งข้อมูลแบบ T1 เหนือเกลียวคู่สัญญาณ โดยปราศจากอุปกรณ์เสริมอื่นใดที่ใช้สำหรับติดตั้งวงจร T1 เช่น นำแถบเชื่อมออก (the removal of bridged taps) และการติดตั้งรีพีทเตอร์ (the installation of repeaters) HDSL ใช้ 2 คู่สายเคเบิลไกลถึง 12000 ฟุต ขณะที่ HDSL-2 ใช้คู่สายเคเบิลเดียว และรองรับระยะไกลได้ถึง 18000 ฟุต HDSL ไม่สามารถใช้ร่วมกับสายโทรศัพท์ระบบอนาลอกได้HDSL ข้อดี : เร็ว และเป็นทางสำรองสำหรับระบบสายถาวร ข้อเสีย : ราคาแพง ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ผ่านสายทองแดงได้ HDSL (High Data Rate Digital Subscriber Line) เป็นอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนา DSL ซึ่งหลักการนั้นก็ง่ายมากคือ แทนที่จะใช้สายทอง- แดงเพียงคู่เดียวอย่างใน ADSL ก็เพิ่มเป็นอย่างน้อย 2 คู่ หากระยะทางระหว่างผู้ให้บริการถึงผู้ใช้นั้นไกลกันมากก็อาจจะต้องใช้ถึง 3 คู่ ด้วยวิธีนี้ทำให้ HDSL สามารถส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 4 MBit/s ทั้งการดาวน์โหลดและอัพโหลดพร้อมๆ กัน ข้อดีที่เห็นได้ชัดของ HDSL คือผู้ให้บริการสามารถใช้เครือข่ายสายทองแดงที่มีอยู่แล้วต่อไปได้เลย แต่ข้อเสียของมันก็อยู่ที่ความยุ่งยากในการแก้ไขสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้น และนอกจากนั้นยังทำให้ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ผ่านสายทองแดงอย่างเคยได้ ซึ่งข้อหลังนี้เป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้ HDSL ไม่ได้รับความนิยมมากนัก VDSL ข้อดี : แบนด์วิดธ์สูงมากข้อเสีย : ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ให้บริการค่อนข้างสูง และในขณะนี้ยังอยู่แค่ในขั้นตอนการทดสอบเท่านั้น เมื่อครั้งที่องค์การไปรษณีย์ของเยอรมนีจะทำการวางเครือข่ายโทรศัพท์สื่อสารในรัฐใหม่หลังจากการรวมประเทศของเยอรมนีนั้น ได้มีการใช้สายใยแก้วแทนสายทองแดงธรรมดาในหลายๆ เมือง และในขณะนั้น ADSL ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักดีนัก ดังนั้นจึงน่าเสียดายที่เมืองหลายๆ เมืองยังคงเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็มแบบ 56k ธรรมดาหรือผ่าน USDN ทั้งๆ ที่มีระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กที่ทันสมัยรองรับอยู่แล้ว แต่ด้วยโปรเจ็กต์ OPAL น่าจะทำให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบ VDSL (Very High Data Rate DSL) ได้รับความนิยมขึ้นมา ด้วย สายใยแก้วนี้จะทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึง 52 MBit/s ในการดาวน์โหลด ซึ่งเร็วกว่า DSL 68 เท่า และเร็วกว่า ISDN ถึง 800 เท่าเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามกว่าที่จะไปถึงจุดนั้นได้ก็ยังคงมีอุปสรรคอีกมากโดยเฉพาะในส่วนของ การลงทุนของผู้ให้บริการเพราะในโปรเจ็กต์ OPAL นั้นต้องมีการวางสายใยแก้วจากผู้ให้บริ-การสองแบบด้วยกันคือ FTTC (Fibre to the Curb) ที่สายใยแก้วจะไปสิ้นสุดลงที่ทางเดินเท้า และ FTTB (Fibre to the Basement) ที่สายใยแก้วจะเข้าไปจนถึงห้องใต้ดินของบ้าน ส่วนระยะทางที่เหลือคือจากจุดแยกของสายก็จะใช้สายทองแดงในการส่งผ่านข้อมูลเช่นเดิม การรับส่งข้อมูลแบบผสมนี้ถือว่าเหมาะมาก เพราะระบบสายโทรศัพท์เดิมที่บ้านก็เป็นสายทองแดงอยู่แล้ว ระยะทางสูงสุดที่จะสามารถส่งผ่านข้อมูลทางสายทองแดงด้วยความเร็ว 52 MBit/s ได้โดยไม่มีสัญญาณรบกวนคือ 300 เมตร แต่การเปลี่ยนจากสายใยแก้วมาเป็นสายทอง-แดงนี้เองที่เป็นตัวทำให้ต้องลงทุนสูง เพราะนอกเหนือไปจากที่ต้องมีจุดแยกสายแล้ว ยังต้องมีโมเด็มเพิ่มขึ้นมาอีกตัวสำหรับแปลงสัญญาณของสายใยแก้วให้เหมาะสำหรับสายทองแดง และผู้ใช้ต้องมีโมเด็มอีกเครื่องที่คอมพิวเตอร์เช่นเดิม แบนด์วิดธ์ : ด้วยใยแก้วนำแสงทำให้การดาวน์โหลดมีความเร็วได้สูงถึง 52 MBit/s Wireless LAN ข้อดี : มี Web Access ตลอดเวลา เป็นเทคนิคที่สมบูรณ์แล้วและราคาถูก ข้อเสีย : มีเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ แต่ก็ยังไม่ทุกพื้นที่ โปรเจ็กต์อย่าง SydneyWireless (www.sydneywireless.com) หรือ SeattleWireless (www.seattlewireless.net) คงจะบ่งบอกถึงทิศ-ทางของลักษณะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี W-LAN-Access Points ตาม ที่สาธารณะต่างๆ เช่นในร้านอาหารหรือในที่ พักอาศัยจะสามารถสร้างเครือข่าย WAN (Wide Area Net-work) ขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ ซึ่งผู้ใช้ทุกคนสามารถที่จะเชื่อมต่อเข้าระบบเพื่อท่องไปในโลกอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา และสะพานที่จะใช้ไปสู่โลกอินเทอร์เน็ตนั้นอาจจะเป็น DSL, สายเคเบิลหรือระบบสายถาวรต่างๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้สะพานเหล่านี้อยู่ ใน Forum และ Chat ต่างๆ ได้มีการถกเถียง กันอย่างมากระหว่าง Wireless User ทั้งหลายถึงทางเลือกใหม่ๆ และตัว WAN นั้นควรจะเป็นอินเทอร์เน็ตเสียเองเนื่องจากมีข้อมูลต่างๆ อยู่ครบถ้วนแล้ว นั่นจะทำให้อินเทอร์เน็ตอย่างที่เรารู้จักกันอยู่ในทุกวันนี้ก็จะหมดความหมายลง ไป แต่ก็ยังมีปัญหาทางด้านเทคนิคบางประการ อยู่เช่นการ Roaming หรือการส่งต่อระหว่างสถานีสัญญาณต่างๆ เพราะผู้ให้บริการ W-LAN ทั้งหลายยังไม่ได้เตรียมตัวรับมือในด้านนี้ การเชื่อมต่ออาจจะถูกตัดขาดลง และจำเป็นจะต้องมีการ สร้างการเชื่อมต่อ่ใหม่ขึ้นมา ซึ่งทำให้ผู้ใช้จะได้รับ Internal IP ภายในระบบตัวใหม่ ส่วนในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ผู้ใช้อาจจะสูญเสียข้อมูลที่กำลังดาวน์โหลดไปหรืออาจจะต้องเริ่มการ Chat ใหม่ แต่ถึงจะมีอุปสรรคในเรื่องนี้ ก็ยังมีบริษัทอีกจำนวนมากที่เล็งเห็นความสำคัญของเทคนิค นี้ และกำลังทำการแก้ไขปัญหา Roaming นี้อยู่ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นการทดลองและต้องรอดูผลกันต่อไป

ชนิดของ Rom

ROM (Read-OnlyMemory)
คือหน่วยความจำชนิดหนึ่ง ที่มีโปรแกรม หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับ ไมโครโปรเซสเซอร์ได้โดยตรง ซึ่งโปรแกรม หรือข้อมูลนั้นจะไม่สูญหายไป แม้ว่าจะไม่มีการจ่ายไฟเลี้ยงให้แก่ระบบ ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ROM จะสามารถอ่านออกมาได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลเข้าไปได้ เว้นแต่จะใช้วิธีการพิเศษซึ่งขึ้นกับชนิดของ ROM

ชนิดของROM

*Manual ROM

ROM (READ-ONLY MEMORY)
ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน ROM จะถูกโปรแกรม โดยผู้ผลิต (โปรแกรม มาจากโรงงาน) เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และมีความต้องการใช้งาน เป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้ โดย ROM จะมีการใช้ technology ที่แตกต่างกันตัวอย่างเช่น BIPOLAR, CMOS, NMOS, PMOS

*PROM (Programmable ROM)

PROM (PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)
ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง (HIGH VOLTAGE PULSED) ทำให้ METAL STRIPS หรือ POLYCRYSTALINE SILICON ที่อยู่ในตัว IC ขาดออกจากกัน ทำให้เกิดเป็นลอจิก “1” หรือ “0” ตามตำแหน่ง ที่กำหนดในหน่วยความจำนั้นๆ เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำ ที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ

*EPROM (Erasable Programmable ROM)

EPROM (ERASABLE PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)
ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง (HIGH VOLTAGE SIGNAL) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM แต่ข้อมูลที่อยู่ใน EPROM เปลี่ยนแปลงได้ โดยการลบข้อมูลเดิมที่อยู่ในEPROM ออกก่อน แล้วค่อยเข้าโปรแกรมไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ทำได้ด้วย การฉายแสง อุลตร้าไวโอเลตเข้าไปในตัว IC โดยผ่าน ทางกระจกใส ที่อยู่บนตัว IC เมื่อฉายแสง ครู่หนึ่ง (ประมาณ 510 นาที) ข้อมูลที่อยู่ภายใน ก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลา ที่ฉายแสงนี้ สามารถดูได้จากข้อมูล ที่กำหนด (DATA SHEET) มากับตัว EPROM และ มีความเหมาะสม ที่จะใช้ เมื่องานของระบบ มีโอกาส ที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อมูลใหม่

*EAROM (Electrically Alterable ROM)

EAROM (ELECTRICALLY ALTERABLE READ-ONLY MEMORY)
EAROM หรืออีกชื่อหนึ่งว่า EEPROM (ELECTRICAL ERASABLE EPROM) เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าในการลบข้อมูลใน ROM เพื่อเขียนใหม่ ซึ่งใช้เวลาสั้นกว่าของ EPROM
การลบขึ้นอยู่กับพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ดังนั้น EAROM (ELECTRICAL ALTERABLE ROM) จะอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีแบบ NMOS ข้อมูลจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เหมือนใน EPROM แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ ข้อมูลของ EAROM สามารถลบได้โดยทางไฟฟ้าไม่ใช่โดยการฉายแสงแบบ EPROM
โดยทั่วไปจะใช้ EPROM เพราะเราสามารถหามาใช้ และทดลองได้ง่าย มีราคาถูก วงจรต่อง่าย ไม่ยุ่งยาก และสามารถเปลี่ยนแปลงโปรแกรมได้ นอกจากระบบ ที่ทำเป็นการค้าจำนวนมาก จึงจะใช้ ROM ประเภทโปรแกรมสำเร็จ แสดงให้เห็นส่วนประกอบพื้นฐานของ ROM ซึ่งจะมีสัญญาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ROM และทุกชิปที่อยู่ใน ROM มักมีการจัดแบ่งแยกหน้าที่เสมอ เช่น ขาแอดเดรสของ ROM เป็นอินพุต ส่วนขาข้อมูลจะเป็นเอาต์พุต โดยหลักการแล้ว ขาข้อมูลจะต่อเข้ากับบัสข้อมูลซึ่งเป็นบัส 2 ทาง ดังนั้นเอาต์พุตของ ROM ในส่วนขาข้อมูลนี้มักจะเป็นลอจิก 3 สถานะ ซึ่งถ้าไม่ใช้ก็จะอยู่ในสถานะ ที่มีอิมพีแดนซ์สูง (High Impedence)
ลักษณะโครงสร้างภายในของข้อมูลในหน่วยความจำ สามารถดูได้จาก Data Sheet ของ ROM นั้นๆ เช่น ROM ที่ระบุเป็น 1024 8 ,2048 8 หรือ 4096 8 ตัวเลขชุดแรก (1024 ,2048 หรือ 4096) จะบอกจำนวนตำแหน่ง ที่ใช้เก็บข้อมูลภายใน ส่วนตัวเลขชุดที่สอง (8) เป็นตัวบอกจำนวนบิตของข้อมูลแบบขนาน ที่อ่านจาก ROM ในการกำหนดจำนวนเส้นของบัสแอดเดรสที่ใช้กับ ROM เราสามารถรู้ได้ด้วยสูตร


*FEPROM : Flash EPROM

เป็นหน่วยความจำชนิดอ่านได้อย่างเดียวที่มีคุณสมบัติคล้ายกับ EEPROM คือสามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้ด้วยการใช้ไฟฟ้า แต่สิ่งที่พิเศษกว่าของFEPROM คือโครงสร้างภายในแบบแฟลช (Flash) ทำให้การลบและเขียนข้อมูลมีความรวดเร็วขึ้นROM BIOS : ROM Basic Input / Output System เป็นไอซีชนิดรอม ที่บรรจุโปรแกรมพื้นฐานเพื่อการควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการตรวจสอบและจัดลำดับการทำงานของอุปกรณ์ ROM BIOS จะมีหน้าที่เริ่มตั้งแต่เปิดเครื่อง จะทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ต่าง ๆ และแจ้งเตือนให้ผู้ใช้รับทราบ โดยใช้เสียงและแสดงบนหน้าจอ (ถ้าจอภาพไม่เสีย) หลังจากนั้นจะทำการเตรียมค่าต่างๆ ที่จำเป็นและ จัดความพร้อมให้กับหน่วยความจำประเภทแรม เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนต่าง ๆ รอมไบออสจะทำการอ่านโปรแกรมจากแผ่นดิสก์ แล้วโอนการทำงานให้กับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ตามที่ผู้ใช้ได้กำหนดไว้ แต่ ROM BIOS ยังคงมีความสำคัญ คือเป็นที่เก็บโปรแกรมสำหรับติดต่อกับอุปกรณ์พื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งจะขาดไม่ได้ ROM BIOS จะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด และหลายยี่ห้อ แต่หน้าที่การทำงานจะคล้ายคลึงกัน